Luangpor-ngeng-WatPaknam-Boongsaphang-Ubonratchatani

ในเมืองอุบล มี พระพุทธรูปเก่าแก่อยู่หลายองค์ นะครับ แต่ที่จะมาแนะนำวันนี้ คือหลวงพ่อเงิน แห่งวัดปากน้ำ บุ่งสระพังครับ
ซึ่งมีอายุมากกว่า 700 ปีแล้ว การเดินทางมายังวัดปากน้ำ ใช้เส้นทางจาก อ.เมืองอุบล มาทาง บ้านตาลสุม ประมาณ 11 กิโลเมตรครับ

อีกทั้งวัดนี้ บางช่วงจะมีงานอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน
มาให้ประชาชนได้สักการะด้วยครับ  อีกทั้งมาที่วัดยังได้กราบขอพรจาก หลวงพ่อเงิน พระพุทธรูปคู่บารมีกับ จ.อุบลราชธานี
ครั้นก่อตั้ง จังหวัด ครับ อายุราวกว่า 700 ปี อย่างไรลองชมภาพกันเลยครับผม


ภายในอุโบสถที่จัดแสดง พระบรมสารีริกธาตุ จะจัดขึ้น แล้วแต่ช่วงเท่านั้น ไม่ได้จัดตลอดทุกวันนะครับ


ภายในอุโบสถที่จัดแสดง พระบรมสารีริกธาตุ จะจัดขึ้น แล้วแต่ช่วงเท่านั้น ไม่ได้จัดตลอดทุกวันนะครับ


หลวงพ่อเงิน อายุกว่า 700 ปี ณ วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง จ.อุบล


พระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน และพระอรหันต์ วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง จ.อุบลราชธานี


หลวงพ่อเงิน อายุกว่า 700 ปี ณ วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง จ.อุบล


งานแสดงพระบรมสารีริกธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระอรหันต์ธาตุ


งานแสดงพระบรมสารีริกธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระอรหันต์ธาตุ


งานแสดงพระบรมสารีริกธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระอรหันต์ธาตุ


พระพุทธรูป รูปจำลองหลวงพ่อเงิน
ท่านเจ้าคุณท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์ มีนามเดิม บุญจันทร์ นามสกุล ประสานพิมพ์ อายุ ๘๑ ปี พรรษา ๖๑
เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ โยมบิดา ชื่อ นายคำ นามสกุล ประสานพิมพ์  โยมมารดา ชื่อ นางคูณ
นามสกุล ประสานพิมพ์ ณ บ้านปากน้ำ(บุ่งสระพัง) ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

บ้านปากน้ำ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี บนเส้นทางกิโลเมตรที่ ๑๑ (เดิมขึ้นอยู่กับตำบลดอนมดแดง)
เป็นหมู่บ้านที่ค่อนข้างจะมีความอุดมสมบูรณ์   หากเปรียบเทียบกับหมู่บ้านในละแวกเดียวกัน เนื่องจากหมู่บ้านตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำมูล นอกจากนั้น ยังมีสายน้ำสายหนึ่งแยกตัวออกมาจากแม่น้ำมูล ทอดตัวเข้ามาในบริเวณหมู่บ้าน เรียกว่า “บุ่งสระพัง” เมื่อ ถึงหน้าแล้ง น้ำในแม่น้ำมูลลดลง หาดทรายก็จะผุดขึ้นตรงบริเวณปากบุ่งสระพัง ทอดตัวขาวโพลนไปจนถึงอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำ ซึ่งเป็นร่องน้ำลึก

หาดบุ่งสระพังจึงกลายเป็นหาดทรายทะเลน้ำจืดที่ผู้คนหลั่งไหลมาจากทั่วสารทิศ ของจังหวัดอุบลราชธานี ได้มาอาศัยพักผ่อนในวันหยุด
บุ่งสระพังอุดมไปด้วยพันธุ์ปลานานาชนิด ประชาชนในหมู่บ้านใกล้เคียงได้อาศัยแม่น้ำมูลและบุ่งสระพังในการประกอบอาชีพ   บ้านปากน้ำ จึงเป็นที่รู้จักในนาม บุ่งสระพัง อีกชื่อหนึ่งด้วย สภาพของหมู่บ้านในสมัยนั้นยังเป็นป่ากว้างดงใหญ่ ค่อนข้างจะห่างไกลจากตัวจังหวัด การเดินทางจากหมู่บ้านเข้าตัวจังหวัดค่อน ข้างยากลำบาก เนื่องจากถนนหนทางก็มีแต่ทางเกวียน เวลาจะเข้าตัวจังหวัดก็ต้องนั่งเกวียนเข้าไป การค้าขาย และการสัญจรไปมา ต้องอาศัยเกวียนเป็นหลัก หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องอาศัยเรือ ลงเรือที่ท่าปาก บุ่งสระพังแล้วพายเรือทวนกระแสน้ำขึ้นไปจนถึงเมืองอุบล


ท่านเจ้าคุณท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์เล่าว่า ท่านเกิดในครอบครัวนักปราชญ์   เนื่องจากโยมปู่กับโยมตาของท่านเป็นผู้มีความรู้ เป็นที่เคารพนับถือของคนในย่านนั้น โดยเฉพาะโยมปู่ของท่านมีญาณพิเศษ เก่งทางด้านคาถาอาคม สามารถรับรู้สิ่งที่อยู่นอกเหนือจากตาเนื้อของคนเรา จนเป็นที่เคารพนับถือของคนในหมู่บ้าน ตลอดจนหมู่บ้านใกล้เคียง ท่านช่วยเหลือผู้คนมากมาย จนชาวบ้านเรียกว่า “หมอเทวดา” โยมปู่ของท่านเป็นคนบ้านผาแก้วใหญ่ ซึ่งในอดีตเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงทางด้านคาถาอาคม
พระเถระผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้น คือ ครูบาธรรมวงศ์ ซึ่งเป็นอาจารย์ของสมเด็จพระมหาวีรวงส์(อ้วน ติสฺโส) และหลวงปู่หลวงปู่พระครูวิโรจนฯ (รอด นนฺตโร) ก็อยู่ที่บ้านผาแก้วนี้


ท่านเจ้าคุณท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมวัฒน์เป็นลูกชาย คนโตในจำนวนพี่น้อง ทั้งหมด ๕ คน เมื่ออายุพอที่จะได้เข้ารับการศึกษา ท่านได้เข้าเรียนในระดับชั้นประถม ศึกษาที่โรงเรียนวัดปากน้ำ (บุ่งสระพัง)


อุโบสถตกแต่งได้สวยงามมากๆๆ

สภาพการเรียนการสอนในสมัยนั้น ยังไม่มีโรงเรียนเหมือน ปัจจุบัน ต้องนั่งเรียนตามศาลาวัด และการเรียนก็ไม่ได้จริงจังอย่างทุก วันนี้ เพราะไม่ได้เรียนเพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพอะไร เพียงแค่ให้อ่านออกเขียนได้ รู้วิธีบวกลบคูณหารเท่านั้น ท่านเรียนจนจบชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดปากน้ำนั่นเอง


การเดินทางมายังวัดปากน้ำ บุ่งสระพัง สามารถเดินทางตาม Google Map ได้เลยครับ


ขอบพระคุณข้อมูลจากเว็บ : http://www.watpaknamubon.com และ http://www.kammatan.com

Comments

comments

Ubontownadm1n

Recent Posts

เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เมืองเทียน เมืองธรรม งามล้ำเมือง 4 แสง

กำหนดการงานแห่เทียนเข้าพรรษาปี 2567  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 กรกฏาคม 2567 - 23 กรกฏาคม 2567 ในเขต อ.เมือง จ.อุบลราชธานี (รวม 7…

1 month ago

ภาพบรรยากาศกราบพระบรมสารีริกธาตุ-อุบล-13มีนาคม2567

วันนี้ 13 มีนาคม 2567 เวลา 18.30 น. บรรยากาศพุทธศาสนิกชน หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านยังคงเข้าสักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ที่ วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี…

2 months ago

ภาพบรรยากาศกราบพระบรมสารีริกธาตุ-อุบล-12มีนาคม2567

  จังหวัดอุบลราชธานี สรุปจำนวนผู้เข้าสักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากประเทศอินเดีย ประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ วัดมหาวนาราม (พระอารามหลวง) อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุบลราชธานี ประจำวันที่ 12 มีนาคม 2567 จำนวน…

2 months ago

รวมร้านอาหาร คาเฟ่เก๋ๆ ย่านเมืองอุบล 162 ร้าน

สวัสดีค่าา วันนี้มาอัพเดท(น่าจะ)ล่าสุด 2024 กับ 162 ร้าน ย่านเมืองเก่าอุบล..ที่เก๋าไม่เหมือนใคร "เมืองเก่าอุบล" อีกหนึ่งย่านสุดชิคที่มีมากกว่าแค่ร้านคาเฟ่ และร้านอาหาร ใครจะคิดว่าร้านทองโซนเมืองเก่า จะมีเกือบเท่าร้านคาเฟ่เลย ของแทร่ มากิน ดื่ม…

2 months ago

ภาพบรรยากาศ-พระบรมสารีริกธาตุที่วัดมหาวนาราม-อุบล

วันนี้ (10 มีนาคม 2567) เวลา 17.00 น. ที่มณฑลพิธีพระวิหารพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง จังหวัดอุบลราชธานี นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า ประกอบพิธีแสดงพระพุทธมนต์ เบื้องหน้าพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ…

2 months ago

ubonbucha-routing-for-buddha-relic-in-ubonratchatani-mar2024

เส้นทางการแห่ และ แสดงริ้วขบวนอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ดร.ปิยะมาศ ทัพมงคล รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ น.ส.มัณฑนา เจือบุญ ผู้อำนวยกองกลาง สำนักงานอธิการบดี ร่วมเป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อม ริ้วขบวนอัญเชิญ…

2 months ago