วัดศรีอุบลรัตนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี กราบสักการะ พระแก้วบุษราคัม
วัดศรีอุบลรัตนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี กราบสักการะ พระแก้วบุษราคัม
วัดศรีอุบลรัตนาราม หรือวัดศรีทอง จ.อุบลราชธานี เป็นวัดสายธรรมยุต สร้างเมื่อปี พ.ศ.2398
สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงปีนี้ก็มีอายุครบ 150 ปีบริบูรณ์
ที่ตั้งของวัดศรีอุบลรัตนาราม เดิมเป็นสวนของพระอุปฮาชโท ต้นตระกูล ณ อุบล ซึ่งมีความศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา
จึงยกที่ดินราว 30 ไร่เศษใช้สร้างวัด พร้อมอาราธนาพระเทวธัมมี จากวัดสุปัฏนาราม มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรก
ในยุคสมัยการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วัดศรีอุบลรัตนารามใช้เป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
และเป็นที่บรรพชาอุปสมบทพระมหาเถระหลายรูป อาทิ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์,
พระศาสนาดิลก, พระอาจารย์เสาร์ กนตสีโล, พระอาจารย์มั่น ภูริทตโต
นอกจากนี้ วัดศรีอุบลรัตนารามยังเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วบุษราคัม พระพุทธรูปคู่บ้านเมือง ที่มีมาก่อนตั้งเมืองอุบลราชธานี
สำหรับพระแก้วบุษราคัม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปกรรมสมัยเชียงแสน แกะสลักจากแก้วบุษราคัม
ขนาดหน้าตักกว้าง 3 นิ้ว สูง 5 นิ้ว เป็นสมบัติของเจ้าปางคำ ราชวงศ์จากเมืองเชียงรุ้งแสนหวีฟ้า
ที่แตกหนีพวกฮ่อมาจากเมืองเชียงรุ้ง และมาสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (จ.หนองบัวลำภู)
การมีพระแก้วบุษราคัมมีความเกี่ยวเนื่องกับพระแก้วมรกต เนื่องด้วยสมัยพระเจ้าพรหมมหาราช
แห่งโยนกเชียงแสนนครเงินยาง มีพระแก้วมรกตไว้ในพระนคร ทำให้เจ้านายตามเมืองต่างๆ
แสวงหาแก้วมณีมีค่ามาสร้างเป็นพระพุทธปฏิมากรไว้ในนคร
เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาที่ประกอบด้วยแก้ว 3 ประการ คือ พระพุทธรัตนะ, พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ
ดังนั้น ในดินแดนสิบสองปันนา ล้านนา ล้านช้าง ซึ่งมีลำธารที่อุดมด้วยรัตนชาติหลากสี จึงมีพระพุทธรูปสร้างด้วยแก้วมณี
อาทิ พระเสตังคมณี นครลำปาง, พระแก้วขาว นครเชียงใหม่ และพระแก้วสีเหลืองที่เรียกว่า พระแก้วบุษราคัม
ต่อมาพระแก้วบุษราคัมได้ตกทอดมาถึงพระเจ้าตาผู้เป็นลูกเจ้าปางคำ และปี พ.ศ.2314
นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานถูกเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ยกทัพมาตี พระเจ้าตาถึงอสัญกรรมในสนามรบ
เจ้าพระวอ และท้าวคำผง จึงอพยพหนีศึกมาสร้างบ้านที่บ้านดอนมดแดง จ.อุบลราชธานี
พร้อมอัญเชิญพระแก้วบุษราคัมมาด้วย และขออยู่ในขันธสีมาเจ้ากรุงธนบุรี โดยสร้างวัดหลวงใช้ประดิษฐานพระแก้วบุษราคัม
จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปการปกครอง
ได้มีการส่งข้าหลวงมากำกับดูแลงานตามหัวเมือง ทำให้เจ้าราชบุตรหนูคำ เจ้าเมืองสมัยนั้น
เกรงว่าข้าหลวงจะแสวงหาของสำคัญของบ้านเมืองไปเป็นของตน
จึงนำพระแก้วบุษราคัมออกจากวัดหลวงไปซ่อนไว้ที่บ้านวังกางฮุง (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านอยู่ใน อ.วารินชำราบ)
กระทั่งพระอุปฮาชโทสร้างวัดศรีอุบลรัตนาราม มีญาท่านเทวธัมมี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ความเคารพนับถือ
เป็นเจ้าอาวาส พระอุปฮาชโทจึงไปอัญเชิญพระแก้วบุษราคัมมาถวายเป็นพระพุทธปฏิมาประดิษฐานประจำวัด
พระแก้วบุษราคัมจึงได้ถูกอัญเชิญกลับเข้าเมืองอีกครั้ง และในอดีตจะให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาเพียงปีละครั้ง
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษาความปลอดภัยองค์พระแก้วบุษราคัม
แต่นับจากนี้เป็นต้นไป เมื่อมีการจัดระบบรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
จึงได้เปิดให้พุทธศาสนิกชนเข้าไปกราบนมัสการได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
ภายในอุโบสถวัดศรีอุบลรัตนาราม จะประดิษฐสถาน พระแก้วบุษราคัม หนึ่งใน 9
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และเป็นพระพุทธรูปคู่เมืองอุบลฯ รวมถึงตัวอุโบสถนั้นสร้างมาตั้งแต่ยุค สร้างเมืองอุบลฯ แรกๆเลย
ภายในอุโบสถวัดศรีอุบลรัตนาราม จะประดิษฐสถาน พระแก้วบุษราคัม หนึ่งในพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และเป็นพระพุทธรูปคู่เมืองอุบลฯ
พระแก้วบุษราคัม หนึ่งในพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และเป็นพระพุทธรูปคู่เมืองอุบลฯ
เวลาที่สามารถเข้านมัสการ พระแก้วบุษราคัม ได้ตั้งแต่เวลา 08:00น – 16:00 น.
พระแก้วบุษราคัม ภายในอุโบสถ
ด้านหน้าอุโบสถ
ด้านหน้าอุโบสถ
องค์ในหลวง รัชกาลที่ 9 เคยเสด็จเยือน จ.อุบลราชธานี ที่พระอุโบสถวัดศรีอุบลรัตนาราม เมื่อ 29 มีนาคม 2511
พระแก้วบุษราคัม หนึ่งในพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และเป็นพระพุทธรูปคู่เมืองอุบลฯ
พระแก้วบุษราคัม หนึ่งในพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และเป็นพระพุทธรูปคู่เมืองอุบลฯ
พระแก้วบุษราคัม หนึ่งในพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และเป็นพระพุทธรูปคู่เมืองอุบลฯ
กราบอัฐิธาตุ หลวงปู่บุญมี โชติปาโล
แผนที่การวัดศรีอุบลรัตนาราม