แนะนำของดี ที่กิน ที่เที่ยว วัดใน จ.อุบลฯ โดยคนอุบลฯ แท้ๆ Ubonratchathani Town Thailand
visiting place in ubonratchataniRecommend Temple visiting in ubonratchatani

วัดใต้ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี Wat-Tai-Uboratchatani

วัดใต้ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

วัดใต้ หรือ วัดใต้เทิง เป็นอีกวัดหนึ่งที่มีความเก่าแก่มากคู่กับเมืองอุบลราชธานี วัดใต้ถูกก่อสร้างมานาน
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2322 วัดใต้ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนพรหมราช ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี
อยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำมูล เดิมทีเดียวคงจะชื่อวัดใต้เทิงเพียงสั้นๆ ต่อมาเพื่อให้สื่อความหมายถึง
พระประธานในอุโบสถพระนามว่าพระเจ้าองค์ตื้อ
จึงได้นำพระนามของพระพุทธรูปมาต่อกับชื่อวัด กลายเป็นวัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ

ภายในวัดใต้แห่งนี้ได้ประดิษฐสถาน พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางมารวิชัย
หน้าตักกว้าง 51 นิ้ว สูง 85 นิ้ว (รวมฐาน) ได้รับการยกย่องมาว่า เป็นพระพุทธรูป ที่งดงามในประเทศไทยและ
ภาคอีสานเป็นพระประธานองค์ศักดิ์สิทธิ์

พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ตามประวัติในประเทศไทย มีอยู่ 5 องค์  สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ครองนครเวียงจันทร์
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เดิมประดิษฐานอยู่บนแท่นพระอุโบสถหลังเก่า ฐานรองรับสูง 70 เซนติเมตร สร้างแบบง่ายๆ
ภายหลังอุโบสถหลังเก่าทรุดโทรม พระเจ้าองค์ตื้อจึงอยู่กลางแจ้ง ตากแดด ตากฝน
เป็นเวลานานทำให้องค์พระพุทธรูปองค์ตื้อมีรอยแตก เป็นสะเก็ดออกมา ผู้เฒ่าผู้แก่ สมัยปู่ย่าตาทวดได้บอกเล่าสืบต่อกันมาว่า

“… พระพุทธรูปองค์ตื้อนี้ได้ถูกหุ้มห่อทาปอมพอกเอาไว้พอกด้วยเปลือกไม้ ยางบด ผสมผงอิฐเจ และทองคำ เงิน นาก
สัมฤทธิ์ เงิน รางกาชาดซะพอก ให้น้ำเกลี้ยง น้ำชาดผสมทาปอมพอก แล้วลงรักปิดทองที่เข้าเมืองอุบลราชธานี
และเถราจารย์ในสมัยนั้น เพราะเป็นสมบัติล้ำค่าที่ไม่สามารถนำติดตัวไปได้
ซึ่งองค์พระพุทธรูปเป็นทองแท้สัมฤทธิ์กลัวว่าจะถูกข้าศึกศัตรูขนเอาไป
จึงได้ทาปอมพอกปิดเอาไว้ และปล่อยทิ้งเป็นวัดร้างนานถึง 200 ปี…”

วัดใต้เทิง ได้จดทะเบียนเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2322 และได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2441
โดยมีท้าวสิทธิสาร กับ เพี้ยเมืองแสนและราษฎร ได้ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอเป็นวิสูงคามสีมา
ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ที่ 103/378 (ตราประทับอักษรขอม)
ว่า ซึ่งมีพระบรมราชโองการ ประกาศไว้แก่คนทั้งปวงว่า

“ที่เขตอุโบสถวัดใต้แขวงเมืองอุบลราชธานี โดยยาว 12 วา 1 ศอก กว้าง 7 วา 1 ศอก ท้าวสิทธิสารกับเพี้ยเมืองแสน
และราษฎรได้ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอเป็นวิสุงคามสีมา พระเจ้าทรงยินดีอนุโมทนาอนุญาตแล้ว
โปรดให้กรรมการปักคำกำหนดให้ตามประสงค์ ทรงพระราชอุทิศนั้นให้เป็นที่วิสุงคามสีมา ยกเป็นแผนกหนึ่งตากหาก
จากพระราชอาณาเขต เป็นที่เศษสำหรับพระสงฆ์มาจากทิศทั้งสี่ ทำสังฆกรรม มีอุโบสถกรรม เป็นต้น
ประกาศพระราชมานตั้งแต่ วันที่ 29 พฤศจิกายน รศ.117 พระพุทธศาสนกาล 2441 พรรษา เป็นวันที่ 10976 ในรัชกาลปัจจุบัน”

ครั้นต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2507-2508 ครั้งนั้นพระภิกษุสวัสดิ์ ทสฺสนีโย ปัจจุบัน เป็นราชาคณะชั้นราช ที่พระราชธรรมโกศล
เป็นเจ้าอาวาสวัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ รูปที่ 13 ปัจจุบันและเป็นเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี (ธ)
ได้ทำการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น นำพระภิกษุ-สามเณร ทายก-ทายิกา และชาวบ้านชุมชนใกล้กวัด
ก่อสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2519 เมื่อสร้างฐานแท่นพระพุทธรูปพระประธานเสร็จจึงได้ยกพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
ขึ้นประดิษฐานที่แท่นจนถึงปัจจุบันนี้ รวมอายุองค์พระประมาณ 225 ปี

หมายเหตุ ความหมายคำว่า “ตื้อ” เป็นจำนวนนับของชาวล้านนา หรือภาคอีสาน
เช่น หลักหน่วย-สิบ-ร้อย-พัน-หมื่น-แสน-ล้าน-โกฏิ-ตื้อ-อสงไขย นับไปไม่ได้ชาวพุทธได้นำทองคำ
เงิน นาก สัมฤทธิ์ จำนวนมากหล่อเป็นพระพุทธรูปที่งดงาม จนหาค่าประมาณมิได้
องค์พระหนักเก้าแสนบาทบนจึงได้ชื่อว่า “พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” หรือ (พระเจ้าแสนตื้อ)

วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบล
วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบล

 

วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบล
วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบล บริเวณเจดีย์ที่เก็บพระธาตุของพระอริยสงฆ์สมัยพุทธกาล


วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบล บริเวณเจดีย์ที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระพุทธเจ้า และ พระอริยสงฆ์สมัยพุทธกาล


วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบล บริเวณเจดีย์ที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระพุทธเจ้า และ พระอริยสงฆ์สมัยพุทธกาล


พระพุทธรูปปางสมาธิ ใน วัดใต้


พระพุทธรูปปางมารวิชัย ใน วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี


รูปปั้นพญานาค ที่วัดใต้ จ.อุบล


พุทธศิลป์ที่วัดใต้ จ.อุบลราชธานี


พุทธศิลป์ที่วัดใต้ จ.อุบลราชธานี


พุทธศิลป์ที่วัดใต้ จ.อุบลราชธานี


พุทธศิลป์ที่วัดใต้ จ.อุบลราชธานี


พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ณ วัดใต้ จ.อุบลราชธานี


พุทธศิลป์ที่วัดใต้ จ.อุบลราชธานี

วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบล
วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบล


การเดินทางมายังวัดใต้ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ผ่าน GoogleMap คลิกได้เลยครับ 


เรียบเรียงข้อมูลโดยทีมงาน https://ubon.town

 

Share

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Visit Us On TwitterVisit Us On FacebookVisit Us On Linkedin